วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

เกาท์

โรคเก๊าท์ เป็นโรคที่เป็นกันมากขึ้นในคนไทย โดยเฉพาะผู้ชาย และค่อนข้างมีอายุหน่อย ทางการแพทย์รู้จักเก๊าท์มานานแล้ว แต่จนปัจจุบัน ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนต่อโรคนี้อยู่มาก ทั้งตัวแพทย์ผู้รักษาเอง และผู้ป่วย นำมาซึ่งความเชื่อผิดๆ อยู่ให้เห็นในปัจจุบัน เก๊าท์ (Gout) เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายมีกรดยูริคสูงอยู่ในเลือดเป็นเวลานาน และด้วยคุณสมบัติของยูริคเอง ที่มีการละลายได้จำกัด (ประมาณ 7 มก./ดล.) ทำให้ยูริคส่วนเกินนี้ เกิดการตกตะกอนในร่างกาย

ที่พบมากและทำให้ เกิดอาการคือ ในข้อต่างๆ, ในไตและเมื่อเป็นเรื้อรัง จะเห็นการตกตะกอนตามเนื้อเยื่อต่างๆ เห็นเป็นปุ่มก้อนตามแขนขาได้กรดยูริค (Uric acid) เป็นผลผลิตจากการสลายสารพิวรีน (purine) ซึ่งเป็นสารสำคัญในการสร้างสาย DNA ในเซลล์ต่างๆ ดังนั้นการสลายเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มี DNA จะได้กรดยูริคเสมอ


เนื่อง จากภาวะกรดยูริคในเลือดที่สูงนั้น จะยังไม่เกิดการตกตะกอนและเกิดข้ออักเสบทันที แต่ต้องใช้ระยะเวลาที่กรดยูริคในเลือดสูงเป็นเวลานานหลายสิบปี พบว่าในผู้ชายที่มีกรดยูริคสูงนั้น ระดับของยูริคในเลือดจะเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น และสูงไปนาน จนกว่าจะเริ่มมีอาการ คืออายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงระดับยูริคจะเริ่มสูงขึ้นหลังจากวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิง มีผลทำให้ยูริคในเลือดไม่สูงพบว่ายูริคในเลือดที่สูงนั้น กว่าร้อยละ 90 เกิดจากการสร้างขึ้นในร่างกายเอง อาหารเป็นแหล่งกำเนิดของยูริคในเลือดน้อยกว่าร้อยละ 10 เสียอีก ดังนั้นผู้ที่ไม่มียูริคสูงมาก่อน การกินอาหารที่มีพิวรีนสูงจึงไม่มีทางทำให้ระดับยูริคสูงได้ครับ

ถ้าปวดข้อแล้วไปเจาะเลือดพบว่ายูริคสูง แสดงว่าเป็นเก๊าท์หรือไม่
เป็น ความเข้าใจที่ผิดครับ การวินิจฉัยโรคเก๊าท์อาศัยประวัติและการตรวจร่างกายง่ายๆครับ ข้ออักเสบจากเก๊าท์วินิจฉัยได้ง่ายเพราะผู้ป่วยจะมีอาการ "ปวด บวม แดง ร้อน" ที่ข้อชัดเจน เป็นเร็วและมักเป็นข้อเดียว ข้อที่เป็นบ่อยได้แก่ ข้อนิ้วหัวแม่เท้า, ข้อเท้า, ข้อเข่า ถ้าผู้ป่วยปวดข้อแต่สงสัยว่ามีปวด บวม แดง ร้อนหรือไม่ หรือตรวจไม่พบ ไม่ชัดเจน ให้สงสัยว่าไม่ใช่เก๊าท์ครับ รายที่เป็นเรื้อรังอาจมีปวดหลายข้อและพบมีปุ่มก้อนที่รอบๆข้อ เช่น ข้อเท้า, ส้นเท้า, ข้อมือ, นิ้วมือได้ ถ้าก้อนเหล่านี้แตกออกจะพบตะกอนยูริคคล้ายผงชอล์กไหลออกมา

การเจาะ เลือดตรวจระดับกรดยูริคในเลือด ในช่วงที่มีข้ออักเสบอาจพบว่า สูง ต่ำ หรือเป็นปกติได้ครับ ดังนั้นผู้ที่มีข้ออักเสบเก๊าท์ ไม่จำเป็นต้องเจาะเลือดในขณะนั้นและไม่ช่วยในการวินิจฉัยครับ ดังนั้น
  • ถ้า อาการปวด บวม แดง ร้อน ที่ข้อไม่ชัดเจน ถ้าเป็นที่ข้อบริเวณเท้า แล้วผู้ป่วยเดินได้สบาย แม้ว่าเจาะเลือดแล้วยูริคสูงก็ให้สงสัยว่าไม่ใช่เก๊าท์
  • ถ้า มีอาการปวด บวม แดง ร้อนที่ข้อชัดเจน เป็นในตำแหน่งข้อเท้า ข้อนิ้วหัวแม่เท้า เป็นเร็วแม้ว่าจะเจาะยูริคแล้วไม่สูงก็น่าจะเป็นเก๊าท์ครับ

ข้อควรระวังในการออกกำลังกาย สำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์

การ ออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าในหลักการแล้วก็สามารถออกกำลังกาย ได้สม่ำเสมอ หากยังไม่มีอาการเฉียบพลันรุนแรงก็สามารถออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องได้ โดยเป็นการออกกำลังกายที่หลีกเลี่ยงการกระแทก เมื่อเป็นโรคเก๊าท์สามารถออกกำลังกายได้ เมื่อหายดีแล้วไม่ควรออกกำลังกายที่มีลักษณะหักโหม เช่น ปีนเขา หรือทำอะไรนานๆต้องระวังเหมือนกัน เพราะบางทีกระตุ้นให้เกิดอาการใหม่ได้ พยายามหากีฬาที่ลดแรงกระแทก ฉะนั้นคนไข้โรคเก๊าท์ส่วนมากจะไม่แนะนำให้วิ่งจ๊อกกิ้ง เพราะการกระแทกเหล่านั้นจะไปกระตุ้นให้โรคกำเริบมากขึ้น

วิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสม ควรเป็นการว่ายน้ำ การปั่นจักรยานอยู่กับที่ หรือการออกกำลังกายส่วนแขน คือขยับแขน แกว่งแขน แต่ถ้าในช่วงที่มีอาการเฉียบพลัน ปวด บวมแดง ร้อน ควรงดเลย เพราะถ้ายิ่งฝืนไปออกกำลังกายจะไปกระตุ้นให้เป็นยาวนานขึ้น การบีบนวดหรือบางคนชอบเอายามาถูแล้วนวดก็จะยิ่งจะทำให้ยิ่งบวมมากขึ้น ปล่อยให้อยู่นิ่งๆจะหายเร็วกว่า การใช้น้ำอุ่นประคบก็ช่วยได้แต่ต้องไม่ร้อนมาก

การออกกำลังกาย มีข้อควรระวังสำหรับคนที่เป็นโรคเก๊าท์
สรุปได้ดังต่อไปนี้
  • หากยังมีการอักเสบของข้อต่อไม่ควรออกกำลังกาย เพราะจะทำให้การอักเสบนั้นหายช้าลง หรืออาจทำให้อาการแย่ไปกว่าเดิม
  • ควรหยุดพักจนกว่าการอักเสบจะหมดไป แล้วค่อยเริ่มออกกำลังกายต่อไปอย่างต่อเนื่อง
  • อย่าหักโหมออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักลงอย่างรวดเร็ว เพราะจะไปกระตุ้นระดับกรดยูริคในร่างกายให้สูงขึ้น ส่งผลให้อาการอักเสบกำเริบได้

อาหารกับโรคเก๊าท์? เป็นเก๊าท์ห้ามกินสัตว์ปีก?

ไม่ ห้ามครับ เพราะเช่นเดียวกับที่กล่าวไว้ข้างต้น ยูริคที่สูงกว่าร้อยละ 90 เกิดจากร่างกายสร้างขึ้นเอง อาหารเป็นส่วนประกอบน้อยมาก ต่อระดับยูริคในเลือด มีการทดลองให้อาสาสมัคร กินอาหารที่มีพิวรีนสูง ทั้ง 3 มื้อ เช่น สัตว์ปีก, เครื่องในสัตว์, ยอดผัก, ไข่ปลา เป็นต้น เป็นเวลาหลายสัปดาห์ พบว่าระดับยูริคในเลือดสูงขึ้นเพียง 1 มก./ดล. ดังนั้นคนธรรมดาที่ไม่ได้กินแต่อาหารที่มีพิวรีนสูงอย่างเดียว จึงแทบไม่มีผลต่อระดับยูริคในเลือดเลย นอกจากนี้ผู้ป่วยเก๊าท์มักเป็นชายวัยกลางคนหรือสูงอายุซึ่งอาจมีโรคอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เบาหวาน, ความดันเลือดสูง ซึ่งจำเป็นต้องจำกัดหรืองดอาหารบางประเภทอยู่แล้ว การบอกให้ผู้ป่วยเก๊าท์งดอาหารพิวรีนสูงเหล่านี้ ทำให้ผู้ป่วยลำบากในการเลือกกินอาหารยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ป่วยเก๊าท์ที่กินยาลดยูริคอยู่แล้ว ยิ่งไม่มีความจำเป็นต้องเลี่ยงอาหารใดๆอีก จะเห็นได้ว่าโรคเก๊าท์เป็นโรคที่มีหลายคนยังเข้าใจผิดถึงโรคและการปฏิบัติ ตัว ทำให้เกิดความลำบากในการรักษาและสร้างความทุกข์กับผู้ป่วยด้วย
อาหารที่ทานกับการเป็นโรคเก๊าท์

ในหนังสือ "อาหารรักษาโรค" ของ รีดเดอร์ส ไดเจสท์ เขียนข้อความชวนอมยิ้มไว้ว่า "หลายคนมองว่าเก๊าท์เป็นโรคที่เกิดจากการกินดีอยู่ดีมากเกินไป และเห็นภาพเจ้าตัวพุงพลุ้ยนั่งกระดกเบียร์เป็นเหยือกๆ แกล้มขาหมูทอดมันๆ" ซึ่งอันที่จริงแล้วเก๊าท์เป็นโรคข้อเรื้อรังชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ในทุกชน ชั้น และทุกวรรณะต่างหากล่ะ ทั้งนี้เก๊าท์จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายของเรามีกรดยูริคในเลือดมากจนเกินไป แล้วตกตะกอนภายในข้อหรือระบบทางเดินปัสสาวะ จะทำให้มีอาการปวดข้อ ข้ออักเสบบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า หรืออาจเกิดนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะได้

มีรายงานจาก หฤทัย ใจทา นักกำหนดอาหาร โรงพยาบาลเทพธารินทร์ ระบุว่า เก๊าท์มีสาเหตุหลักมาจากพันธุกรรมที่ร่างกายของเรา อาจมีความสามารถในการขับกรดยูริคได้น้อยกว่าคนทั่วไป ทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคขึ้น ทั้งนี้สอดคล้องกับข้อมูลที่ว่ากรดยูริคในเลือดที่สูงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์นั้นเกิดจากร่างกายผลิตเองหลายท่านเลยให้ความเห็นว่า ดังนั้นอาจไม่จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ป่วยโรคเก๊าท์งดอาหารที่มีสาร "พิวรีน" (สารในอาหารซึ่งจะสลายเป็นกรดยูริค)

อย่างไรก็ตามมีแพทย์หลายท่าน ให้ข้อสังเกตว่า มีผู้ป่วยจำนวนมากที่มีอาการอักเสบของข้อเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน หลังจากที่ทานอาหารบางอย่าง (ซึ่งอาจเป็นของแสลงต่อร่างกายของเขา) "จึงอาจกล่าวได้ว่าแม้อาหารไม่ได้ทำให้เกิดโรคเก๊าท์ แต่อาจมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการอักเสบมากขึ้นได้" ในกรณีของคนที่มีอาการของโรคอยู่แล้ว ผู้ป่วยจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่จะก่อให้เกิดการอักเสบ หรืออาหารบางอย่างที่จัดเป็นของแสลงต่อร่างกายตนเอง

คนป่วยโรคเก๊าท์ ควรเลี่ยงอาหารที่มีพิวรีนสูง ส่วนคนที่ยังไม่ได้เป็นอาจยังไม่จำเป็นต้องเลี่ยง เพียงแต่ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ อิ่มท้อง อิ่มใจ แบบไม่ต้องทรมานความอยากมากเกินไปก็พอแล้ว เอาล่ะมาดูกันดีกว่าว่าพวกเรา (ไม่ว่าจะเป็นเสี่ยพุงพลุ้ยหรือไม่ก็ตาม) ควรกินอะไรเพื่อให้ห่างไกลเก๊าท์ และลดปริมาณกรดยูริคในร่างกายลงได้บ้าง

"ไก่" กับ "เก๊าท์"


"อย่ากินไก่เยอะนะ เดี๋ยวเป็นเก๊าท์" ดูเหมือนพวกเราจะได้ยินประโยคที่เต็มไปด้วยความห่วงใยอย่างนี้กันอยู่เนืองๆ ซึ่งจริงๆ แล้วไก่ก็มีความเกี่ยวพันกับอาการเก๊าท์จริงๆ นั่นแหละครับ เพราะเนื้อไก่มีสารพิวรีนอยู่สูงปานกลาง ถ้ากินเยอะๆ อาจกระตุ้นให้ผู้ที่มีอาการเก๊าท์อยู่แล้ว เกิดการอักเสบมากขึ้น ทว่าอย่าเพิ่งถึงขั้นงดกินเลยครับ เพราะนักกำหนดอาหารแห่งโรงพยาบาลเทพธารินทร์ได้แนะนำว่า คงไม่ต้องถึงกับงดทานสัตว์ปีกหรอกครับ เพียงแต่อาจต้องลดความถี่ในการทาน หรือทานในบริเวณที่เสี่ยงน้อย เช่น ไม่ทานตรงข้อ หรือทานบริเวณอกไก่แทนก็ได้ครับ

อาหารที่แนะนำให้ทาน


จากหนังสือ "อาหารรักษาโรค" ของ รีดเดอร์ส ไดเจสท์ ได้แนะนำอาหารที่ใช้ในการบำบัดหรือบรรเทาอาการของโรคเก๊าท์ไว้ดังนี้

เชอร์รีสด

งาน วิจัยของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซึ่งทดลองในผู้หญิงพบว่า ระดับกรดยูริคในเลือดลดลง แต่จะไปเพิ่มขึ้นในปัสสาวะ เมื่อให้หญิงสาวอดอาหารและกินเชอร์รีลูกโต นอกจากนี้ยังพบว่า เชอร์รีดำ เชอร์รีเหลือง และเชอร์รีแดง รสเปรี้ยว ก็มีประโยชน์เช่นกัน

เต้าหู้ ถั่วแระญี่ปุ่น น้ำเต้าหู้ และอาหารจากถั่วเหลือง

คน ที่มีอาการโรคเก๊าท์ ควรต้องลดโปรตีนจากเนื้อสัตว์ แต่ก็ไม่ควรให้ร่างกายขาดโปรตีน ดังนั้นโปรตีนจากถั่วเหลืองน่าจะเป็นทางออกที่ดี งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า ถั่วเหลืองช่วยลดกรดยูริคได้ ปริมาณที่แนะนำคือ ทานถั่วเหลือง สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง แทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์และสัตว์ปีก

มะเขือเทศ พริกหวาน และอาหารที่อุดมด้วยวิตามินซี

งาน วิจัยของมหาวิทยาลัยทัฟต์สในอเมริกาพบว่า ผู้ที่ทานอาหารที่ทำจากมะเขือเทศ พริกหวานเขียว และผักที่มีวิตามินซีสูง วันละ 2 ถ้วย ติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ มีระดับกรดยูริคในเลือดลดลงหลังจากการทดสอบอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้พืชผักสีแดงที่มี สารต้านอนุมูลอิสระ ไลโคปีนอาจช่วยลดกรดยูริคได้

น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา อะโวคาโด และอาหารที่อุดมด้วยไขมันไม่อิ่มตัว

มี งานวิจัยจำนวนมากพบว่า ไขมันไม่อิ่มตัวที่พบในอาหารเหล่านี้อาจช่วยลดกรดยูริค รวมถึงงานวิจัยในแอฟริกาใต้ที่เปิดเผยว่า เมื่อให้ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ทานไขมันไม่อิ่มตัวแทนไขมันอิ่มตัว พบว่าระดับกรดยูริคในเลือดของพวกเขาลดลง 17.5 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 16 สัปดาห์ นอกจากนี้การได้รับแคลอรีเพิ่มขึ้นจากไขมันไม่อิ่มตัว ยังอาจช่วยลดระดับอินซูลิน ซึ่งช่วยป้องกันโรคเก๊าท์กำเริบในทางอ้อม

น้ำและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์

น้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ จะช่วยชำระกรดยูริคออกจากร่างกายได้ แนะนำให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว

มนูลดอาการปวดข้อ

เมนู 3 วันที่จัดใส่จานเสิร์ฟถึงมือผู้อ่าน โดย หฤทัย ใจทา นักกำหนดอาหาร ประจำศูนย์เบาหวานไทรอยด์ โรงพยาบาลเทพธารินทร์

วันที่ 1
มื้อเช้า – ซีเรียล (ไม่ขัดสี) ประมาณ 2 ถ้วยตวง นมปราศจากไขมัน 1 กล่อง
มื้อเที่ยง – ข้าวไก่อบ (เลือกอกไก่) ส้มเขียวหวาน 1-2 ผล
มื้อเย็น – สุกี้น้ำ (ใส่น้ำจิ้มเล็กน้อย) แก้วมังกร ½ ผล

วันที่ 2
มื้อเช้า – ข้าวต้มกุ้ง 1 ชาม กาแฟหรือชาร้อน 1 ถ้วย
มื้อเที่ยง – ก๋วยเตี๋ยวน้ำไม่ใส่เครื่องใน แคนตาลูป 6-8 ชิ้น (พอดีคำ)
มื้อเย็น – ข้าวสวย แกงจืดเต้าหูหมูสับ น้ำส้มคั้น 100% 120 ซี.ซี.

วันที่ 3
มื้อเช้า – แซนด์วิชไข่ต้มใส่ผักกาดหอมและมะเขือเทศ โยเกิร์ตไขมันต่ำรสธรรมชาติ 1 ถ้วย
มื้อเที่ยง – ผัดผักรวมราดข้าว น้ำแตงโมปั่น (หวานน้อย) 1 แก้ว (200 ซี.ซี.)
มื้อเย็น – ข้าวสวย ต้มยำกุ้งน้ำใส แอปเปิ้ลเขียว 1 ผล

ของหวานหรือขนม - วุ้นเจลาติน / เวเฟอร์ / สมูทตี้แบบไขมันต่ำ

เก๊าท์ รักษาได้หายขาดจริงหรือไม่ และต้องทำยังไง

จริง ครับ ถ้าเรายอมรับว่าผู้ป่วยที่รักษาแล้วไม่มีอาการปวดข้ออีกเลยตลอดชีวิต เรียกว่าหายจากผู้ป่วยโรคเก๊าท์ จำเป็นต้องได้รับการรักษาเป็น 2 ระยะในความดูแลของแพทย์ ได้แก่
  • การรักษาในระยะเฉียบพลัน คือ ข้ออักเสบโดยใช้ยาลดการอักเสบที่นิยมได้แก่ ยาโคลชิซิน (Colchicine) กินวันละไม่เกิน 3 เม็ด (เช่น 1 เม็ดหลังอาหาร 3 มื้อ) จะทำให้ผู้ป่วยหายจากข้ออักเสบในเวลา 1-2 วัน อาจทำให้ข้ออักเสบหายเร็วขึ้น ถ้าใช้ร่วมกับยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ บางครั้งอาจมีผู้แนะนำให้กินยาโคลชิซิน 1 เม็ด ทุกชั่วโมง จนกว่าจะหายปวดหรือจนกว่าจะท้องเสียซึ่งไม่แนะนำ เพราะผู้ที่กินยานี้จะท้องเสียก่อนหายปวดเสมอ
  • การรักษาระยะยาว โดยใช้ยาลดกรดยูริคในเลือด โดยถือหลักการว่าถ้าเราลดระดับยูริคในเลือดได้ต่ำกว่า 7 มก./ดล. จะทำให้ยูริคที่สะสมอยู่ละลายออกมาและขับถ่ายออกจนหมดได้ ยาที่นิยมใช้ได้แก่ ยาอัลโลพูรินอล (Allopurinol) ขนาด 100-300 มก. กินวันละครั้ง ซึ่งยานี้ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง กินยาสม่ำเสมอและกินไปนานอย่างน้อย 3-5 ปี เพื่อกำจัดกรดยูริคให้หมดไปจากร่างกาย การกินๆหยุดๆจะทำให้แพ้ยาได้ง่าย ซึ่งเป็นผื่นผิวหนังชนิดรุนแรง


ข้อคำนึงในการรักษาได้แก่
  • ยา ลดกรดยูริคมีผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ จึงสงวนไว้ใช้ในผู้ป่วยเก๊าท์เท่านั้น ผู้ที่ตรวจเลือดแล้วพบว่ายูริคสูง โดยไม่มีอาการปวดข้อแบบเก๊าท์มาก่อน ไม่มีความจำเป็นต้องกินยานี้ เพราะผู้ที่ยูริคสูงไม่ได้เป็นเก๊าท์ทุกคน การกินยาทำให้เกิดความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงโดยไม่จำเป็น
  • เมื่อมีอาการปวดข้อเกิดขึ้น อย่านวดเพราะการนวดหรือใช้ยาทาถู ทำให้อาการข้ออักเสบเป็นนานขึ้นหายช้า
  • ใน ผู้ที่มีอาการข้ออักเสบแบบเก๊าท์เป็นครั้งแรก ไม่จำเป็นต้องเริ่มยาลดยูริคตั้งแต่แรก เพราะผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีอาการข้ออักเสบ เพียงครั้งเดียวในชีวิตและไม่เป็นอีก และพบว่าการเริ่มกินยาลดกรดยูริคในขณะที่ข้ออักเสบ จะทำให้ข้ออักเสบหายช้าลง
  • ในผู้ป่วยที่กินยาลดกรดยูริคอยู่ อาจพบว่ามีอาการข้ออักเสบแบบเก๊าท์ได้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องหยุดยา เพียงแต่รักษาข้ออักเสบตามข้างต้น และเมื่อกินยาต่อไปเรื่อยๆ จะพบว่าข้ออักเสบจะเป็นห่างขึ้นเป็นน้อยลงหายเร็วขึ้น จนกระทั่งไม่มีอาการข้ออักเสบอีกเลย
  • หลังจากกินยาไปแล้ว 3-5 ปี อาจลองพิจารณาหยุดยาได้ ในผู้ป่วยที่อายุมากเนื่องจากยูริคที่เริ่มสูงขึ้นหลังจากหยุดยา กว่าจะเริ่มสะสมจนเกิดข้ออักเสบนั้น กินเวลาหลายสิบปี จนอาจไม่เกิดอาการอีกเลยตลอดชีวิต

ไม่มีความคิดเห็น: